top of page

พื้นลามิเนต หรือ พื้นไม้ลามิเนต คืออะไร?

พื้นลามิเนต หรือ พื้นไม้ลามิเนต คือ วัสดุปูพื้นทดแทนไม้จริงที่นำ ไม้ เศษไม้ และวัสดุอื่น มาอัดรวมกันเป็นชั้นๆ ปิดทับด้วยแผ่นฟิล์ม ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า ลามิเนต (Laminate) คือ กระบวนการผลิตรูปแบบนึงที่เอาวัสดุซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ และบีบอัดเพื่อให้เกิดเป็นวัสดุแบบใหม่ จึงเป็นที่มาของ พื้นไม้ลามิเนต และยังเป็นต้นแบบของ "กระเบื้องยาง SPC" ที่ถูกพัฒนามาในภายหลัง


พื้นไม้ลามิเนต เป็นที่นิยมมากเพราะมีราคาถูกหากเทียบกับพื้นไม้ชนิดต่างๆโดยเฉพาะงานก่อสร้างโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้ในจำนวนมาก

ชั้นต่างๆของพื้นไม้ลามิเนต

พื้นไม้ลามิเนต

  1. Wear Layer - ชั้นเคลือบกันรอย กัน UV อยู่บนสุดของพื้นไม้ลามิเนตเพื่อป้องกันรอยและสีที่อาจจะทำให้ชั้นฟิล์มที่อยู่ด้านล่างเสียหาย


  2. Design Layer - ชั้นฟิล์มลายไม้คุณภาพสูงเพื่อให้ความรู้สึกเหมือนไม้จริง


  3. Core Layer - ชั้นแผ่นแกนหลักความหนาแน่นสูงที่บีบอัดผงไม้ ไม้ และส่วนผสมต่างๆเฉพาะของโรงงานทำให้พื้นไม้ลามิเนตแข็งแรง


  4. Backing Layer - ชั้นล่างสุดของแผ่นพื้นไม้ลามิเนตมีหน้าที่ป้องกันความชื้น และเสริมความแข็งแรงทำให้แผ่นไม่บิดงอ



ต้นกำเนิดของลามิเนตแท้จริงนั้นมาจากประเทศสวีเดน ที่ตั้งอยู่แถบยุโรป

โดยบริษัทของชาวสวีเดนที่มีชื่อว่า “Perstorp”

Perstorp

และเป็นที่รู้จักกันในแบรนชื่อ “Pergo”

Pergo

แผ่นลามิเนต ถูกผลิตขึ้นเพื่อมาเติมเต็มความต้องการของลูกค้าที่ต้องการวัสดุทนแทนไม้จริง แต่มีราคาที่ถูก และเข้าถึงได้มากกว่า


แผ่นไม้ลามิเนต สำหรับติดตั้งพื้นจะมีความหนาที่นิยมใช้กันอยู่ที่ 8 มิลลิเมตร ถึง 12 มิลลิเมตร


คุณสมบัติที่โดดเด่นของพื้นไม้ลามิเนต:


1. ราคาถูกกว่าไม้จริงชนิดอื่นๆในตลาดมาก แต่กลับให้ความรู้สึกที่คล้ายไม้จริงไม่แพ้กัน


2. ติดตั้งง่าย และใช้เวลาน้อย (ช่าง 1 ทีม สามารถติดตั้งได้ประมาณ 150 ตรม. ต่อวัน)


3. มีลวดลาย และสีมากมายให้เลือกถ้าเทียบกับพื้นไม้จริง


4. ทำความสะอาดง่าย ไม่เก็บฝุ่น


5. แข็งแรง ทนทาน ด้วยความหนาแน่นของชั้นแกนกลาง HDF (High Density Fiberboard) คือการใช้เศษวัสดุ เศษไม้ ขี้เลื่อย เส้นใยต่างๆ ขึ้นอยู่กับเกรดวัสดุ มาผสมเคมีและอัดความร้อนขึ้นรูปเป็นแผ่น


ประวัติที่มาของพื้นลามิเนต


2520: แผ่นลามิเนต แบบ HPL (High Pressure Laminate) เป็น พื้นไม้ลามิเนตที่อัดเมลามีนด้วยแรงดันสูงบริเวณลายตกแต่งที่ผิวหน้า ได้ถูกผลิดขึ้นครั้งแรก


2523-2531 : ลามิเนตถูกนำออกมาขายและเป็นตัวเลือกให้กับวัสดุปูพื้น


2532 : แผ่นลามิเนต แบบ DPL (Directed Pressure Laminate) เป็น พื้นไม้ลามิเนตที่อัดเมลามีนโดยตรงด้วยแรงดันในช่วงเวลาสั้นๆ ได้ถูกผลิดขึ้นครั้งแรก ซึ่งช่วยปกป้องความชื้นได้มากกว่าเดิม


แผ่นลามิเนต DPL HPL

ภาพจาก : www.hoskinghardwood.com


2533-2539 : เริ่มมีลวดลายใหม่ๆนอกจากไม้ เช่น ลายหินอ่อน ออกมาพร้อมกับระบบคลิ๊กล็อค


2543 : เทคโนโลยีการลดเสียงได้ถูกคิดค้นใช้กับพื้นไม้ลามิเนต


2544-2548 : พื้นไม้ลามิเนตถูกทำให้เหมือนไม้จริงมากขึ้น โดยการเพิ่มลวดลาย สัมผัส พร้อมกับการป้องกันพื้นผิว


2549-2553: เริ่มมีการผลิตขนาดพื้นลามืเนตออกมามากกว่าเดิม เช่น พื้นหน้ากว้าง หรือหน้าแคบ หรือแม้กระทั้งการวาดลวดลายสวยงามลงบนพื้นไม้ลามิเนต


2553-2555: อุตสาหกรรมการผลิตพื้นไม้ลามิเนตได้ถูกพัฒนาให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


2555-ปัจจุบัณ: พื้นไม้ลามิเนตก็ยังมีการพัฒนาต่อเนื่องถึงปัจจุบัณ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้าง ลวดลาย หรือ เกรดคุณภาพ


เกรดของพื้นลามิเนต


แผ่นไม้ลามิเนตมีการวัดคะแนนของการสึกและความสามารถในการทนแรงกระแทกเช่นกันโดยใช้มาตรฐานของประเทศยุโรป แบ่งเป็นเกรดของพื้นลามิเนต ต่างๆตามค่า AC และ IC


1. ค่า AC ของพื้นลามิเนต (Abrasion Classification)


ข้อกำหนดการสึกถลอกของผิวหน้าพื้นไม้ลามิเนต ตามมาตรฐาน EN13329 มีค่าตั้งแต่ AC1 – AC5 โดยค่ายิ่งมากยิ่งแสดงถึงความคงทนมาก


ค่า AC ลามิเนต คืออะไร

  • AC 1 : 21 เป็นเกรดที่ต่ำที่สุด ใช้ในพื้นที่ ใช้สอยน้อยมาก เช่น ห้องรับแขก หรือห้องนอน


  • AC 2 : 22 เกรดรองขึ้นมา เหมาะกับที่ ที่มีการใช้สอยน้อย เช่น ห้องนั่งเล่น หรือห้องอาหาร


  • AC 3 : 23 และ AC 3 : 31 เกรดที่เนิยมที่สุดสำหรับการติดตั้งที่บ้าน เช่น ทางเดิน หรือ บันได


  • AC 4 : 32 เกรดที่ใช้สำหรับเชิงพาณิชย์ที่มีการใช้สอยหนัก


  • AC 5 : 33 เกรดที่ทนทานที่สุด ใช้กับที่ที่มีการใช้สอยหนักมาก


ซึ่งปกตินั้นแต่ละระดับจะมีการเพิ่มชั้นหนาของพื้นที่ทนต่อการสึกหรอระดับละ 60% เช่น AC2 จะทนต่อการสึกหรอมากกว่า AC1 60% และ AC3 จะมากกว่า AC2 60% แต่มากกว่า AC1 120% เป็นต้น


แต่แน่นอนว่ายิ่งถ้าเกรดมากขึ้น ราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรที่จะเลือกใช้ความทนทานให้เหมาะสมกับพื้นที่ ที่จะติดตั้งพื้นมากที่สุดก็พอ


2. ค่า IC ของพื้นลามิเนต (Impact Classification)

ข้อกำหนดการทนแรงกระแทกลงบนผิวหน้าพื้นไม้ลามิเนต ตามมาตรฐาน EN13329 มีค่าตั้งแต่


IC1 – IC3 โดยค่ายิ่งมากยิ่งแสดงถึงความคงทนมาก

IC 1 10N/800mm 8N/1000mm = 12.5kg s2

IC 2 15N/1000 12N/1400= 15kg s2

IC 3 20N/1200 15N/1600 = 16.6kg s2


สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต


1. พื้นที่ที่จะติดตั้งได้ระดับหรือยัง ไม่เป็นแอ่งหรือนูน


ต้องแน่ใจว่าพื้นที่ที่จะทำการติดตั้งนั้นเรียบและแข็งแรง ไม่เป็นแอ่ง หรือนูน และควรมีระดับต่างกันไม่เกิน 3 มม. จำเป็นจะต้องมีการรื้อพื้นเดิมออกหากพื้นเดิมเป็นกระเบื้องที่หลุดร่อน พื้นยางที่ชำรุจ รวมถึงพรมที่ติดตั้งไว้ก่อนแล้ว


พื้นไม้ลามิเนตนั้นสามารถปูทับ พื้นกระเบื้องที่ไม่เสียหายได้ รวมถึงพื้นปูนที่เรียบได้ระดับได้เลย เพื่อที่ว่าคุณสมบัติลิ้นล็อคของพื้นจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งจะไม่เกิดการเดินแล้วยวบ หรือมีเสียงดังเพราะการปูพื้นลามิเนตนั้นจะเป็นการปูแบบลอย หรือที่เรียกกันว่า (Floating wood tile flooring) เพราะจะมีโฟมรองรับอยู่ข้างล่างก่อนพื้น ประมาณ 1-2 มม.


2. ความชื้นในที่ที่จะติดตั้ง


ต้องคำนึงว่าบริเวณที่ติดตั้งนั้นจะไม่มีน้ำซึม รั่วไหลออกมา เพราะไม้ลามิเนตนั้นไม่ถูกกับน้ำและความชื้นที่ขังเป็นเวลานาน อาจทำให้พื้นเสียหายได้ โดยการบวมหรือพอง และยังเรื่องปัญหาเรื่องเชื้อรา รวมถึงหากมีการปรับพื้นเตรียมไว้ ควรมั่นใจว่าพื้นนั้นแห้งสนิทดีแล้วก่อนติดตั้ง และถ้าหากยังมีปัญหาข้างต้นก็ควรที่จะซ่อมแซมแก้ไขให้ดีก่อน


เครื่องมือที่ใช้สำหรับติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต


อุปกรณ์ติดตั้งพื้นลามิเนต

1. ตลับเมตร : สำหรับวัดระยะขอบเขตงาน


2. ดินสอ : ใช้สำหรับขีดเส้นทดหลังการวัด


3. ไม้บรรทัดฉาก : สะดวกต่อการวัด


4. ที่วัดระดับน้ำ : สำหรับตรวจสอบระดับพื้น ก่อนการติดตั้ง


5. เกรียง : ใช้สำหรับทำความสะอาดหน้าพื้นให้เรียบหากมีการปรับระดับพื้นหรือรื้อพื้น


6. ลิ่ม : ใช้สำหรับเว้นระยะเผื่อขยายให้แผ่นไม้ห่างจากกำแพง 1.5 มม.


7. เลื่อยวงเดือน : ใช้สำหรับตัดแต่งไม้ลามิเนต


8. เลื่อยเดือนปรับองศา : ใช้สำหรับตัดแต่งงานบัว


9. ค้อนยาง : สำหรับเคาะประกอบแผ่นพื้นไม้ให้สนิท


10. ปืนยิงซิลิโคน : สำหรับยิงซิลิโคนปิดบัวตัวจบกับไม้และผนัง


11. ไม้กวาด : สำหรับทำความสะอาดหลังเลื่อยไม้หรือกวาดฝุ่นก่อนทำการติดตั้งพื้น


อุปกรณ์ที่ใช้ที่ใช้สำหรับติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต


1. แผ่นไม้ลามิเนต หนา 6-12 มม. ตามจำนวน ตรม. ที่ต้องการจะติดตั้ง


2. แผ่นโฟม ความหนา 1 - 2 มม : ใช้รองพื้นก่อนติดตั้ง ช่วยลดเสียงและความชื้น


3. ซิลิโคน : ใช้ปิดบัวตัวจบกับไม้และผนัง


4. กาวร้อน : ใช้เชื่อมบัว ตัวจบ ที่ตัดแต่งไว้


วิธีติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต


1. ตรวจสอบพื้นที่ที่จะติดตั้งว่าพื้นที่นั้นมีระดับที่พร้อมจะติดตั้งแผ่นไม้รึยัง โดยไม่เป็นแอ่งหรือเนิน ถ้าพื้นที่พร้อมก็ลงมือขั้นต่อไปได้เลย แต่ถ้าหากยังไม่พร้อมอาจจะต้องมีการปรับพื้นหรือที่เรียกกันว่าการปรับ “Self-leveling


2. ทำความสะอาดพื้นโดยใช้เกรียงขูดนำฟองอากาศจากปูน หรือแม้กระทั้งกาวเก่าจากการรื้อพื้นเดิมให้เรียบร้อย ตามด้วยใช้ไม้กวาดเก็บฝุ่นในบริเวณที่ทำความสะอาด


3. ใช้โฟม PE FOAM ซึ่งผลิตมาจาก โพลีเอทิลีน (Poly Etylene) ความหนาประมาณ 1-2 มม. ปูบริเวณที่จะติดตั้งให้ครอบครุมพื้นที่ทั้งหมด โดยให้ชั้นที่เป็นพาสติกอยู่ด้านล่าง โฟมตัวนี้จะช่วยกันความชื้นจากพื้นปูนไม่ให้ไม้ลามิเนตเราบวมหรือมีเชื้อรา และยังช่วยลดเสียงจากการเดิน ทำให้ได้สัมผัสที่นุ่มขึ้นด้วย


4. เริ่มติดตั้งพื้นลามิเนตแถวแรกที่มุมห้อง เริ่มจากซ้ายไปขวาโดยใช้ลิ่ม หรือเศษไม้ตัดเว้นระยะห่างจากผนังประมาณ 15 มม. หรือ 1.5 ซม.


*สำคัญมาก เพื่อให้แผ่นไม้ลามิเนตสามารถหดขยายได้ถ้าเกิดโดนอากาศร้อนหรือเย็น ซึ่งเราสามารถใช้เศษไม้ที่ตัดเหลือมาทำได้


5. เมื่อติดตั้งถึงแผ่นสุดท้ายของแถวแรกให้ดูว่าพื้นที่ว่างเหลือเท่าไหร่หลังจากนั้นวัดโดยใช้ตลับเมตร และใช้ดินสอขีดบนแผ่นไม้ไว้เผื่อนำไปตัดออกให้พอดี


6. เริ่มแถวที่ 2 โดยใช้แผ่นไม้ที่เหลือจากแถวแรก และแผ่นไม้ควรจะยาวมากกว่า 30 ซม. ถ้าหากมีขนาดเล็กเกินไปให้ใช้แผ่นใหม่แล้วตัดครึ่งเลย หลังจากนั้นให้ติดตั้งแผ่นไม้จากด้านหัวก่อน แล้วค่อยสอดลิ้นไม้ด้านข้างให้เข้าโดยเอียงทำมุมเล็กน้อย ใช้ค้อนยางตอกให้แผ่นไม้เข้าล็อคพอดี โดยไม่ให้รอยต่อมีร่องเหลือ และอย่าฝืนหากแผ่นไม้ไม่เข้าล็อค ให้เริ่มทำใหม่เพื่อไม่ให้ลิ้นล็อคของไม้เกิดความเสียหาย


7. ทำสลับไปจนถึงแถวสุดท้ายโดยให้แถวสุดท้ายมีความห่างจากผนัง 1.5 เซนเช่นกันและติดจบด้วย ตัวจบขอบ หรือ บัว


8. ใช้ซิลิโคนหรือแด๊บ ยิงใส่ระหว่างร่องพื้นกับบัวเพื่อปิดรอยต่อที่มีระหว่างพื้น และใช้ซิลิโคนหรือแด๊บยิงเก็บงานระหว่างผนังกับบัว หรือตัวจบ


9. อย่าพึ่งทำความสะอาดพื้นโดยทันที ต้องรอให้ซิลิโคนที่ยิงไปนั้นแห้งก่อน ประมาณ 2-3 ชม. แล้วจึงใช้ผ้าหรือไม้ถูพื้น บิดให้หมาดแล้วถู


ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้งลามิเนต


1. ทุกครั้งที่สั่งซื้อแผ่นไม้ลามิเนตนั้นต้องเผื่อเศษตัดไว้เสมอ! หมายความว่า ถ้าหากห้องมีความกว้าง * ยาว เป็น 4 * 4 จะเท่ากับ 16 ตรม. จะต้องเผื่อเศษตัด 5 % ไว้เสมอเพราะไม้ที่นำมาตัดเข้ามุมจะไม่สามารถใช้ต่อได้ ดังนั้นก็ควรที่จะสั่งไม้เป็นจำนวน 16.8 ตรม. เป็นต้น สูตรคำนวณ “ (กว้าง * ยาว) *1.05 = ตรม. ที่ควรสั่ง ”


2. การติดตั้งพื้นควรจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ทำ เนื่องจากลดความเสียหายที่อาจเกิดกับพื้นเช่น ของใหญ่ตกใส่หรือแม้กระทั้งสีที่ทาหยดใส่พื้น


3. ประตูก็เป็นสิ่งสำคัญโดยระหว่างพื้นกับประตูควรมีความห่างระหว่างกันประมาณ 20 มม. เพื่อไม้ให้เปิดแล้วติดพื้น


4. ห้ามปูพื้นไม้ลามิเนตภายนอกอาคาร หรือบริเวณที่โดนน้ำฝนโดยเด็ดขาด


ลามิเนตไม่ถูกกับน้ำ

วิธีดูแลรักษาพื้นลามิเนต


1. ห้ามเทน้ำลงบนพื้นไม้เป็นอันเด็ดขาด เพราะอย่างที่ทราบกันว่าพื้นไม้ลามิเนตนั้นไม่ถูกกับน้ำเป็นอย่างมาก แต่ให้ใช้ผ้าหมาดๆหรือไม้ถูพื้นที่บิดจนหมาดแล้ว ถูทำความสะอาด


2. หากต้องเคลื่อนย้ายสินของที่มีน้ำหนักมากในห้องเช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ให้ใช้ผ้าสักหลาด หรือยางรอง รองบริเวณระหว่างพื้นทุกครั้งเพื่อไม่ให้พื้นเกิดรอย


ถ้าหากท่านอ่านบทความนี้มาถึงตรงนี้แล้ว การติดตั้งพื้นลามิเนตอาจจะดูง่ายสำหรับท่านบางคนที่มีความรู้ช่างพื้นฐานและอุปกรณ์บางอย่างอยู่แล้ว แต่สำหรับบางท่านอาจจะนึกภาพไม่ออกเลยว่าสิ่งที่เขียนมานั้นมันต้องเริ่มยังไงจบยังไง อย่ากังวลไป!! บริษัทเรานอกจากจะเป็นผู้จำหน่ายพื้นลามิเนตแล้ว บริษัทเรายังมีช่างผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถทำให้เรื่องติดตั้งเป็นเรื่องง่ายสำหรับท่านไปได้เลย ด้วยทักษะ ประสบการณ์ และความคล่องแคร่ว อาจจะทำให้ห้องของท่านสวยขึ้นด้วยไม้ลามิเนตเพียงไม่กี่ชั่วโมง


แต่ เดียวก่อน!! ปัจจุบัณมีสิ่งที่เรียกว่า "กระเบื้องยาง SPC" แบบคลิ๊กล็อคที่ถูกพัฒนามาแทนที่ พื้นไม้ลามิเนต และเริ่มใช้กันแพร่หลาย


เปลี่ยนลามิเนตเป็นกระเบื้องยาง

ด้วยเทคโนโลยี ส่วนผสม และขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ ทำให้ กระเบื้องยาง SPC มีข้อได้เปรียบกว่า พื้นไม้ลามิเนตแบบเดิมหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องปลวก หรือ ความทนทาน หากสนใจสามารถสอบถามกับทางเราได้


โปรโมชั่นกระเบื้องยาง SPC
โปรโมชั่นกระเบื้องยาง SPC

โปรโมชั่นกระเบื้องยาง SPC ตอนนี้!! https://www.bpfloor.com/spc-flooring


Reference: www.wikipedia.com

bottom of page