top of page

กระเบื้องยาง คืออะไร มีกี่แบบ?

กระเบื้องยาง หรือ พื้นไวนิล คือวัสดุทางเลือกปูพื้นที่ทำจากพลาสติกเป็นหลักขึ้นรูปเป็นแผ่นขนาดต่างๆปิดผิวด้วยฟิล์มที่มีลวดลาย อาธิเช่น ลายไม้ ลายหิน ลายพรม หรือลายเรียบ ปิดทับด้วยชั้นเคลือบกันรอย


กระเบื้องยางลายไม้ เป็นทางเลือกที่นิยมมากที่สุดสำหรับเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของธุรกิจหลายคนในช่วงเวลานี้ ที่ชอบเสน่ห์ของไม้ ทันสมัย อบอุ่น และเอกลักษณ์ที่กระเบื้องไม่มี เป็นตัวเลือกในการใช้ติดตั้ง พื้นบ้าน ออฟฟิศ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้าง ร้าน โรงแรม สนามบิน ฯลฯ


ด้วยส่วนผสมที่ทำจากพลาสติก PVC ที่ไม่มีส่วนผสมของไม้เลยจึงทำให้กระเบื้องยางไวนิลสามารถกันน้ำ กันปลวกได้ 100% และยังมีราคาถูก แต่สวยทนทานอีกด้วยหากเทียบกับพื้นไม้


กระเบื้องยางคลิ๊กล็อค คืออะไร ต่างจาก กระเบื้องยางแบบทากาว ยังไง ?

ปัจจุบันกระเบื้องยางสามารถแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 3 แบบ โดยถ้าหากใช้ลิ้นล็อคของแผ่นกระเบื้องยางในการติดตั้งจะเรียกว่า กระเบื้องยางคลิ๊กล็อค ส่วนกระเบื้องยางที่ใช้กาวในการติดตั้งจะเรียกว่า กระเบื้องยางทากาว มีทั้งแบบแผ่น และแบบม้วน


  1. กระเบื้องยางคลิ๊กล็อค คือ กระเบื้องยางที่ใช้ลิ้นล็อคของที่มากับแผ่นกระเบื้องยางในการติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องใช้กาวช่วยในการติดตั้ง ส่วนใหญ่จะเรียกกระเบื้องยางชนิดนี้ว่า กระเบื้องยาง SPC ย่อมาจาก Stone Plastic Composite เพราะมีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตผสมกับ PVC


  2. กระเบื้องยางทากาวแบบแผ่น คือ กระเบื้องยางที่ใช้กาวในการติดตั้ง ไม่มีลิ้นล็อคอยู่รอบแผ่น ส่วนผสมจะมีแค่ PVC อย่างเดียว มีทั้งแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส


  3. กระเบื้องยางทากาวแบบม้วน คือ กระเบื้องยางที่มาในรูปแบบม้วนมีหน้ากว้าง 1-2 เมตร ใช้กาวในการติดตั้ง ไม่มีลิ้นล็อคอยู่รอบแผ่น ส่วนผสมจะมีแค่ PVC อย่างเดียว


ต้องบอกก่อนว่าทั้งสามแบบ คือ กระเบื้องยางเหมือนกันเพราะมีส่วนผสมของ PVC หรือ Polyvinyl Chloride นั่นเอง แต่จะแตกต่างกันในส่วนผสมวัสดุที่ใช้ในการผสมผลิต วิธีการติดตั้ง ความหนา ความยืดหยุ่น การปิดขอบงาน อายุการใช้งาน และสภาพพื้นที่สามารถติดตั้งได้


ข้อแตกต่างหลัก 6 ข้อ ของกระเบื้องยางแต่ละแบบ


กระเบื้องยาง SPC

กระเบื้องยาง ทากาวแบบแผ่น

กระเบื้องยาง ทากาวแบบม้วน

วิธีการติดตั้ง

ใช้ลิ้นล็อค รองโฟม

ใช้กาว ไม่ต้องรองโฟม

ใช้กาว ไม่ต้องรองโฟม

ความหนา

4 - 8 มม.

1.8 - 3 มม.

2 - 4 มม.

ความยืดหยุ่น

แข็งแรงยืดหยุ่นน้อย

มียืดหยุ่น

มียืดหยุ่น

การปิดขอบงาน

นิยมใช้บัว PVC

นิยมใช้บัวยาง

นิยมใช้บัวยาง

อายุการใช้งาน

5 - 15 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ

1 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ

1 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ

การเตรียมพื้น

ติดทับพื้นได้หลากหลาย

พื้นต้องเรียบไม่มีร่อง

พื้นต้องเรียบไม่มีร่อง

1. แบ่งกระเบื้องยาง โดย "วิธีการติดตั้ง"


กระเบื้องยางคลิ๊กล็อคสามารถใช้ลิ้นล็อคที่ติดมากับกระเบื้องยางติดตั้งได้เลย โดยรองโฟมก่อน หนึ่งชั้น เพื่อลดเสียงที่จะเกิดขึ้นจากการปูลอยแบบไม่ต้องใช้กาว ลิ้นของกระเบื้องยางคลิ๊กล็อคจะมีคุณสามารถนำมาติดตั้งด้วยกันให้แน่นโดยแผ่นไม่แยกออกจากกัน


กระเบื้องยางแบบทากาวกาวต้องใช้กาวกระเบื้องยางในการติดตั้ง ซึ่งบางรุ่นก็จะมีกาวในตัวเลย หรือต้องลงกาวกับพื้นก่อนติดตั้งไม่จำเป็นต้องใช้โฟมรอง


ดังนั้นกระเบื้องยางคลิ๊กล็อคจะไม่ค่อยเห็นรอยต่อระหว่างกระเบื้องยางในระยะยาว เพราะส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตช่วยลดอัตราการหดขยายและลิ้นล็อคที่ยึดกันระหว่างแผ่น



2. แบ่งกระเบื้องยาง โดย "ความหนา"


กระเบื้องยางแบบทากาวจะมีความหนาน้อยกว่ากระเบื้องยางคลิ๊กล็อค เพราะไม่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตเหมือนกับ SPC จะมีเพียงส่วนผสมของ PVC อย่างเดียว โดยส่วนมากกระเบื้องยางทากาวจะหนา 1.8 - 4 มม. ส่วนกระเบื้องยาง SPC จะหนา 4 - 8 มม.


ความแตกต่างของกระเบื้องยางคลิ๊กล็อคและแบบทากาว

3. แบ่งกระเบื้องยาง โดย "ความยืดหยุ่น"


กระเบื้องยางแบบทากาว แบบที่มีส่วนผสมแค่ PVC อย่างเดียวสามารถดัดงอได้มากกว่ากระเบื้องยางที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่ง SPC จะแข็งแรงมากกว่าแบบที่มีส่วนผสมของ PVC อย่างเดียวตามที่แจ้งไว้ในข้างต้น


ความยืดหยุ่นของกระเบื้องยาง

4. แบ่งกระเบื้องยาง โดย "การปิดขอบงาน"


กระเบื้องยางแบบทากาว โดยส่วนมากจะนิยมใช้บัวยาง ในการปิดจบขอบงานหรืออาจจะไม่ใช้บัวเลยก็ได้ บัวยางจะมีสีที่นิยม คือ สีดำ และสีเทา

ตัวอย่างพื้นกระเบื้องยางแบบทากาว

กระเบื้องยางคลิ๊กล็อค นิยมใช้บัวตัวจบ PVC ในการจบงานเพราะจะทำให้ปิดขอบงานได้เรียบร้อย ไม่ว่าจะจากร่องที่ช่างจะเว้นไว้ 3 - 5 มม. ตามขอบเพื่อที่จะให้กระเบื้องยางมีพื้นที่หดขยาย เป็นต้น

ตัวอย่างพื้นกระเบื้องยาง SPC

5. แบ่งกระเบื้องยาง โดย "อายุเวลาการใช้งานของสินค้า"


อายุการใช้งานของกระเบื้องยางปกติแบบทากาวจะน้อยกว่ากระเบื้องยางคลิ๊กล็อค เพราะไม่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทำให้แข็งแรง ลดการหดขยาย ทนต่อน้ำหนัก รวมถึงชั้นฟิล์มเคลือบกันรอยที่บางกว่าทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ง่ายกว่า และสึกเร็วกว่า *แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และดูแลรักษาด้วย


6. แบ่งกระเบื้องยาง โดย "สภาพพื้นที่ใช้ติดตั้ง"


กระเบื้องยางแบบคลิ๊กล็อคสามารถติดตั้งบนพื้นที่เดิมได้หลากหลายกว่ากระเบื้องยางแบบทากาว เพราะมีความแข็งแรงไม่อ่อนนิ่ม ดังนั้นเวลาเจอหน้างานที่มีร่องยาแนวกระเบื้อง หน้างานที่เป็นพื้นไม้จริง หรือพื้นปูนที่อาจจะไม่เรียบได้ซะทีเดียว ก็ยังสามารถติดตั้งทับบนพื้นที่เหล่านั้นได้ โดยที่ไม่แสดงรอยขรุขระจากพื้นใต้แผ่นกระเบื้องยาง แต่ถ้าหากจะดีที่สุดแนะนำให้ทำการ Self-Leveling พื้น หรือปรับระดับก่อนนั่นเองเพื่อป้องกันลิ้นล็อคแตกหัก


กระเบื้องยางทากาวนั้นถ้าเจอร่องยาแนวกระเบื้องก็ไม่สามารถติดทับได้แล้ว เพราะเวลาใช้งานไปจะทำให้เห็นร่องกระเบื้องข้างใต้ชัดเจน จำเป็นจะต้องใช้ยิปซั่มหรือปูนปาดปิดรอยกระเบื้องยาแนวพวกนี้ก่อน


ข้อดี ข้อเสีย ของกระเบื้องยางแต่ละแบบ


ข้อดี

ข้อเสีย

กระเบื้องยาง SPC

แข็งแรง ติดตั้งง่าย หดขยายน้อย

ราคาสูงกว่าชนิดกาว

กระเบื้องยาง แบบแผ่น

ราคาถูก ติดตั้งง่าย

ไม่แข็งแรง หดขยาย

กระเบื้องยาง แบบม้วน

รอยต่อน้อย กันกระแทก

ติดตั้งยาก ราคาปานกลาง

ทำไมต้องกระเบื้องยาง?


  1. ราคาถูกกว่าพื้นไม้จริง ช่วยประหยัดงบการแต่งบ้านไปได้เยอะแต่ได้ฟิลลิ่งเหมือนกัน


  2. ลวดลาย ผิวสัมผัส คล้ายไม้จริง ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่พัฒนาขึ้นมากทำให้กระเบื้องยางที่ผลิตออกมาให้ความรู้สึกเหมือนไม้จริงอย่างมาก


  3. ติดตั้ง ดูแลง่าย ใช้อุปกรณ์ในการติดตั้งที่หาได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องบวมน้ำและปลวก


วิธีการเลือกซื้อกระเบื้องยาง


  1. เลือกสี และลายของกระเบื้องยางที่ชอบ โดยขอภาพกระเบื้องยางจริงจากพนักงานขายหรือรูปงานติดตั้งของสี และลายของกระเบื้องยางนั้นๆ อย่าดูแต่ในรูปที่เป็นดิจิตอล


  2. เลือก Texture พื้นผิวที่ชอบ กระเบื้องยางแต่ละแบรนจะมีพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไปตามเอกลักษณ์ของแบรนด์


  3. เลือกกระเบื้องยางจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน แนะนำ B.P. Floor เรื่องกระเบื้องยางให้จบที่เรา มีบริการติดตั้งและดูแลจากพนักงานที่มากประสบการณ์


วิธีวัดพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องยาง วัดพื้นที่ยังไง?

ต้องบอกว่าการคิดจำนวนพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องยาง หรือ วัสดุปูพื้นชนิดต่างๆนั้นสำคัญมาก เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบตัวเลขที่จะต้องใช้ในการคำนวนค่าใช้จ่ายจริงๆ


อ่านเพิ่มเติมที่บทความนี้ : วิธีคำนวนพื้นที่ ก่อนติดตั้งพื้น

วิธีวัดพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องยาง

วิธีทำความสะอาดกระเบื้องยาง ทำยังไง?

กระเบื้องยาง ปูทับพื้นชนิดใดได้บ้าง?

กระเบื้องยาง สามารถติดตั้งภายนอกอาคารได้ไหม?


ถ้าท่านกำลังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือกำลังสนใจในการติดตั้งกระเบื้องยาง แนะนำให้ติดต่อหาเราที่มีความชำนาญเรื่องพื้นเพื่อปรึกษาเพิ่มเติมได้


โปรโมชั่น กระเบื้องยาง SPC

bottom of page